สมาชิกแชร์ประสบการณ์บุกศาลาแดงเหนือ :)

“ไปหมู่บ้านศาลาแดงครั้งแรก รู้สึกว่าหมู่บ้านนี้ท่าทางจะลำบาก เพราะเข้าไปลึกและถนนลำบาก แต่พอได้เข้าไปในหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้น่าอยู่ สบายมาก อากาศดี ชุมชนพอเพียง ครั้งแรกไปก้เจอพี่หม่อนลูกผู้ใหญ่ พาเดินชมหมู่บ้าน พี่หม่อนคุยเก่ง น่ารัก มีความรู้เยอะด้วย ครั้งที่2ที่ไปก้ไปถ่ายทำงานวิชาพีอาร์306 เจอลุงผู้ช่วย ลุงผู้ช่วยให้สัมภาษ พูดคุยเก่งมาก แล้วก้ไปเจอป้าอัมพร ป้าอัมพรเป็นอสม.ป้าอัมพร สาธิตวิธีตรวจวัดน้ำให้ดู ว่าริมแม่น้ำที่หมู่บ้านศาลาแดงใสสะอาด ไปเจอน้องๆเด็กๆปั่นจักรยานเล่นกัน บางคนก้เล่นน้ำอยู่ริมแม่น้ำ แล้วก้ไปแวะกินน้ำที่ร้านค้าในหมู่บ้าน รอบสาม กลุ่มเพื่อนไป ถ่ายงานเกี่ยวกับข้าวแช่ ไปถ่ายทำกันที่บ้านป้าพร มีป้าพร ป้าแดง เป็นคนทำข้าวแช่ให้ ข้าวแช่อร่อยมากเป็นอาหารของคนมอญตั้งแต่รัชกาลที่5 ข้าวแช่จะเป็นข้าวหุงสุข เอาน้ำใบเตยเยนๆ มาราดใส่ในข้าวสุก แร้วกินกับ หมูฝอย ไชโป้ผัด กระเทียมดองยำ ไข่เค็ม ข้าวแช่เป็นของหวาน กินแล้วสดชื่น รอบที่4 ไปลงพื้นที่อีกรอบ ไปแวะบ้านป้าพร ป้าพรป้าแดงกำลังทำแกงมอญอยู่ ชื่อแกงมะตาด เป็นแกงขึ้นชื่อของมอญ แล้วก็ไปเจอผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่ไม่สบายยุหลายวันแล้ว แต่วันที่ไปผู้ใหญ่ดีขึ้นแล้วเลยออกมาพูดคุยให้ข้อมูลกัน ภรรยาผู้ใหญ่ก็ให้ความร่วมมือกันเตมที่ วันที่ไปพี่หม่อนลูกสาวผู้ใหญ่ไม่อยู่ เพราะต้องไปเข้าค่ายลูกเสือชาวบ้าน ซักพักก็ไปกินก๋วยเตี๋ยวในหมู่บ้าน เป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำตกชามละ15บาท อร่อยมาก เพื่อนๆ กินกันคนละ2ชามเลยคะ ท้องป่อง กันเลยทีเดว” (ความประทับใจจาก นส.ทัศนัยน์ อัยรักษ์)

“ครั้งแรกของการลงพื้นที่ของเราที่ หมู่บ้านศาลาแดง เดินทางด้วยความที่ใครๆก็จำทางไม่ได้ จนเกิดการหลงเล็กน้อย เราก็ยังมีรอยยิ้มกันอยู่ แต่เราก็ใช้เวลาไม่นานก็เจอทางเข้าหมู่บ้าน ยังไม่แค่นั้นทางเข้าหมู่บ้านยังมีระยะทางยาวไกล และเป็นถนนที่คิดว่าน่าจะเป็นช่วงที่ปรับปรุง ซ่อมแซม เพราะเป็นถนนดินแดงลูกรัง ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ และเป็นพื้นต่างระดับในบางช่วงถนน เราขับรถเข้ากันด้วยความช้า และทุลักทุเลเล็กน้อย แต่เราก็ยังมาคุยเล่นกันอย่างสนุกสนาน ไม่มีความเครียดแต่อย่างใด เพราะเราถือว่าเราได้มาร่วมทำ ร่วมลงพื้นที่กับเพื่อนๆ ในที่สุดเราก็ได้มาถึงบ้านของคนทีี่เรานัดกันเอาไว้ เค้าต้อนรับเราเป็นอย่างดี และพาเราไปเดินสำรวจชุมชน ไปดูหางหงส์ ไปดูขนมกระยาสารท แต่ในระหว่างทางเดินที่จะเดินเข้าบ้านป้าที่ทำขนมกระยาสารทนั้น มันเกิดนำ้ท่วมเล็กน้อย เพราะช่วงนั้นฝนตกเกือบทุกวัน แต่เราทุกคนก็ไม่หวั่น ถอดรองเท้า ถกขากางเกง และเดินลุยนำ้กันไปจนถึงบ้านป้าเค้า เราได้วิธีทำขนม ได้รู้จักกับกระยาสารทมากขึ้น และที่สำคัญ เราทุกคนได้กินกระยาสารทฟรี เพราะป้าเค้าใจดีมาก หลังจากนั้นก็เดินดูนู่นนี่อีกนิดหน่อย เราก็ได้ทำการขอบคุณและขอตัวกลับ…ตอนกลับเราก็ต้องค่อยๆขับกลับกันอย่างช้าๆเช่นเดิม แต่เรื่องราวที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ตั้งแต่การเริ่มออกเดินทาง จนถึง ตอนที่แยกย้ายกันกลับ มีทั้งเรื่องดี และ เรื่องร้าย แต่พวกเราก็ทำมันด้วยรอยยิ้ม ไม่มีใครบ่นอะไรซักคำ เพราะเป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่เราได้ทำจริง ลำบากจริง สนุกสนานจริง ไม่ใช่แค่ความรู้ในห้องเรียน เรารวมความทั้งหมดนี้ว่า “ความประทับใจ” :) ”
(ความประทับใจจาก นส.กรรณิการ์ โพธิ์ศรี)

“ศาลาแดงเหนือ หมู่บ้านที่ไม่คิดว่าในชีวิตจะได้มาเยือน ถ้ามองผิวเผินจากถนนใหญ่ที่มุ่งหน้าเข้าอยุธยา ถ้าไม่บอกจิงๆว่าในพื้นที่นี้มีหมู่้บ้าน ก้อไม่คิดว่ามีค่ะ (ไม่ได้ว่าบ้านนอกน่ะค่ะ) แต่เพราะว่าหมู่บ้านนั้นอยู่ลึกจากถนนใหญ่มากจิงๆ ดิชั้นมีโอกาสได้ลงพื้นที่ทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งก้อมีจุดระสงค์แตกต่างกันไป แบบเช่นครั้งที่1 ก็ลงไปดูพื้นที่หมู่บ้านว่าเป็นเช่นไร อะไรต่างๆหลายสิ่ง โดยมีคุณป้าแดงและคุณป้าพรผู้ใจดี ซึ่งเป็นอาสาหมู่บ้านที่น่ารักมากกกก โดยที่ก็ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงซึ่งมันแลดูทันสมัยมากกว่าที่คิด นอกจากจะได้ข้อมูลแล้วเราก็ได้ลงไปทำงานอีกวิชาที่ต้องใช้พื้นที่ชุมชนในการทำงาน นั่นคือ บ้านคุณป้าที่ทำกระยาสารท ครั้งนี้เป็นอะไรที่ไม่คาดคิด เพราะว่า ทางเดินเข้าบ้านคุณป้าที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำท่วมค่ะ แต่ก็เดินไปได้อยู่ คุณป้าบอกมาว่า ป้าโอเค ท่วมทุกปี (ปล.ป้าโอเค หนูไม่โอค่ะ ) แลวก็มีคุณป้าพรผู้ใจดีพาเราเดินทัวรอบหมู่บ้านเบาๆหนึ่งรอบ ก็ได้รับความรู้แบบกรุบกริบน่ารักกันไป ครั้งที่สอง ไปลงเพื่อหาข้อมูลค่ะอีกทีซึ่งก็ได้ไรมาเพิ่มกันบ้างนิดหน่อย เริ่มมาบ่อย ไม่รู้จะถามแล้ว ฮ่าๆๆ ครั้งที่สาม ลงพื้นที่พร้อมอาจารย์ ในวันที่ 29 กันยายน 55 ครั้งนี้เราก็เตรียมตัวกันเป็นขบวนใหญ่เลยทีเดียวโดยมีนักศึกษาจาก2วิชาคือ pr303 และ pr308 ไปลงพื้นที่กัน วันนี้มีการจัดงานเป็นเรื่องราวใหญ่โดโออ่าสมฐานะ ที่ศาลาไม้สักที่วัดศาลาแดงเหนือ ซึ่งมีตัวแทนชุมชนทุกชุมชนมานั่งให้ข้อมูลกันโดยพร้อมเพรียง นักศึกษาก็นั่งฟังกันอย่างตั้งใจ วันนั้นเราได้ข้อมูลกันมาเยอะเลยค่ะ แต่มาเช็คดูบางอย่างที่ได้รับข้อมูลมาก้อไม่ตรงกับข้อมูลใหม่ มีการถ่ายรูปกันอย่างสนุสนาน นักศึกษาส่วนใหญ่ก้อเก็บข้อมูลทำงานกันเต็มที่ ได้เจอบุคคลที่เป็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลเรา ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมากๆ ครั้งที่สาม ไปสี่ไปลงพื้นที่พร้อมเพื่อนสาวในกลุ่มไปถ่ายรูปทำงานวิชาอื่นอีกนิดหน่อย แต่ครั้งนี้ไม่ได้เข้าไปหาคุณป้าคุณลุงในหมู่บ้านเลยค่ะ เพราะว่าเรารีบกันจริงๆ มีธุระสำคุญต้องรีบกลับ ก็แอบเสียดายเหมือนกันที่ ไม่ได้เข้าไปทักทายคุณป้าคุณลุงทั้งหลาย ครั้งสุดท้าย ครั้งที่สี่ ครั้งนี้ลงพื้นที่ชุมชนกันเองโดยมีสมาชิกกันทั้งหมด10 คนค่ะ นั่งรถตู้ที่มหาวิทยาลัยไปกันค่ะ โดยมี อ.เก๋ ที่น่ารักของเราเป็นคนคอยประสานเรื่องรถให้ (ขอบคุณมากค่ะ อ.เก๋) นั่งกันไปก็เม้ากันไปจนถึงก็ไปจอดรถที่วัดกัน แล้วก็เดินลงสำรวจหาป้าพรป้าแดง และผู้ใหญ่บ้าน ครั้งนี้ข้อมูลแลดูครบพอสมควรซึ่งเริ่ดเลอมาก เราแบ่งกันออกเปน2 กลุ่มคือกลุ่มแรกอยู่ที่บ้านป้าพรเพื่อดูการทำอาหารมอญที่จะมีคนมาถ่ายงาน มีลูกแอปปเปิ้ลมอญด้วย ลูกมันรูปทรงแปลกๆ แต่ก็เก๋ดี ใบสวยมากกก นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ เราอีกกลุ่มมานั่งคุยกับผู้ใหญ่บ้านที่ท่านน้ำ ซึ่งตอนเดินผ่านริมแม่น้ำเราเจอกับคุณป้าสองคน กำลังถือไม้ไผ่ยาวๆอยู่คนนึงและอีกคนอยู่ในน้ำอย่างมีความสุข เราก็สงสัยสิค่ะ ด้วยความเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นเป็นทุนเดิม ฮ่าๆๆเลยพุ่งเข้าไปถามอย่างรวดเร็วว่าเค้าทำอะไรกัน ป้าเค้าก็บอกว่ามันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำเพราะว่าจะได้เป็นการกันผักตบชวาไม่ให้เข้ามาที่ท่าน้ำของบ้าน เนื่องจากชาวบ้านที่บ้านอยู่ติดริมคลองจะใชน้ำในการอุปโภค ซึ่งเป็นอะไรที่นึกไม่ถึง และจุดเด่นของหมู่บ้านคือศาลาริมน้ำ ซึ่งทุกบ้านที่ติดริมคลองจะมีเป็นสมบัติส่วนตัว ซึ่งจะมีที่นั่งของแต่ละบ้านตั้งอยู่ ลมเย็นมากกกกกกกกกกก ซึ่งในวันที่ลงพื้นที่นั้นแดดร้อนสุดๆ เราก็ได้ข้อมูลมาเต็มอิ่มพอสมควรตามคำถามที่เราคิดกันไว้ตอนแรก และเราก็ได้น้องสาวของพี่หม่อนที่เป็นจิตอาสากลุ่มเยาวชนที่น่ารักของหมู่บ้านพาชมหมู่บ้านอีกรอบ ซึ่งน้องก็ทำหน้าที่นี้ด้วยความเต็มใจ ไม่มีอิดออดเวลาขอห็ช่วย น่ารักมากก (ปล.ลูกสาวคนเล็กของผู้ใหญ่บ้าน) วันนี้คนสำคัญหลายคนไม่อยู่ เช่น พี่หม่อน และอีกหลายๆท่าน เพราะว่าทุกคนไปเข้าร่วมการเข้าค่ายลูกเสือ แต่เราก็ได้สิทธิพิเศษดึงตัวคนสำคัญออกมาถ่ายรูปได้โดยที่พวกเขานั่งรถกลับมาที่หมู่บ้านเพื่อให้เราถ่ายรูป (น่ารักมากกกกก ขอบคุณมากจริงๆค่ะ) แต่เราไม่ได้สัมภาษณ์พวกเขาเลย เลยอาจจะมีข้อมูลในหลายๆส่วนตกหล่นไปบ้าง ซึ่งเราไม่ซี(เรียส)ค่ะ พอเราทำโน่นนี่นั่นเสด หิวสิค่ะคุณ!!! เราเดินไปพบกับร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง เป็นก๋วยเตี๋ยวหม้อเล็ก ซึ่งหม้อที่ใช้ลวกเว้นและน้ำซุปอันจิ๋วเดียว กิ้บเก๋มากก น่าร้อกกอ่ะ ฮ่าๆๆ ไปถึงปุ้บสั่งปั้บ มีหรือมาถึงที่แล้วจพลาด นี่ไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว ประเด็นคือ สาเหตุที่เป็นก๋วยเตี๋ยวหม้อเล็กสุดน่ารักนั่นก้อเพราะว่า หมู่บ้านศาลาแดงนั้น คนส่วนใหญ่จะทำกับข้าวกินกันเองซึ่งมีน้อยคนมากที่จะมาซื้อของกินในหมู่บ้านจึงทำให้หมู่บ้านไม่มีร้านอาหารเหมือนที่อื่นๆ พอกินกันเสด อิ่มแปล้แล้ว เราก็เดินไปที่บ้านคุณป้าเพื่อล่ำลา และขอบพระคุณสำหรับข้อมูลในวันนั้นเป็นอย่างมาก คุณป้าคุณลุงทุกคนในหมู่บ้านน่ารักมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก และเราก็ได้อุดหนุน หมี่กรอบซึ่งเป็น กลุ่มอาชีพของหมู่บ้าน ถูกด้วยอร่อยด้วย ถุงละ10 บาท แต่ได้เยอะเชียว ชอบๆ ซื้อกันเสร็จขอบคุณป้าๆลุงๆกันแล้ว ก็เดินทางกลับโดยรถตู้มหาวิทยาลัย คนขับก็น่ารักไม่บ่นซักคำ (เค้ารอเราก็นานอยู่เหมือนกัน) และเดินทางกลับมหาวิทยาลัยอย่างปลอดภัย การลงพื้นทำ csr นี่เป็นการลงครั้งแรกในชีวิตที่พื้นที่ๆเราไม่รู้จักใครเลย เป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้น และได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มากขึ้นเยอะ ทำให้รู้ว่าในโลกของเรานี้ ยังมีอะไรที่เรายังไม่รู้อีกเยอะ การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเพราะโลกของเรานี้เป็นหนังสือเง่มใหญ่ที่เราสามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่และมีอะไรหลายๆอย่างที่เรายังไม่รู้ การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ได้ประสบการณืใหม่ๆ เช่น การรู้จักพูดคุยกับคนที่เราเพิ่งรู้จัก การประพฤติตัวในสังคม คำพูดคำจา การรู้ถึงน้ำใจคน อะไรอีกหลายๆอย่าง มันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากที่ไหนหากเราไม่ได้มีโอกาสทำอะไรแบบนี้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ได้จัดโครงการดีๆแบบนี้ขึ้นมา ขอขอบคุณ หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี มากๆค่ะ นี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราทำสำเร็จในครั้งนี้ และขอขอบคุณทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้องน่ะค่ะ ไปละค่ะ เวิ่นมาเยอะแล้ว บายค่ะ…….. “ (มิส ตินติน)
 
 

“ศาลาแดงเหนือ
20 กันยา ลงชุมชนครั้งแรก จากถนนใหญ่เข้าสู่ตัวหมู่บ้านบอกได้คำเดียวว่า จะรอดไหมเนี่ย สองข้างทางมีเพียงผืนนาแถมหลงทางอีกต่างหาก ให้ความรู้สึกแบบชนบทสุดๆ แต่เมื่อเข้าไปถึงตัวหมู่บ้าน ค่อยโล่งอกหน่อย แต่ก็ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ สถานที่ที่ต้องเข้าไปสำรวจ น้ำเกิดท่วมขึ้นมา ไปได้ใกล้สุดก็สะพานตัวที ที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ลมเย็นสบาย พ่อผู้ใหญ่บ้านกำลังยุ่ง เลยให้พี่หม่อนเป็นผู้ให้ข้อมูลแทน ได้รู้เรื่องอะไรที่ต้องการรู้เยอะ29 กันยา ลงชุมชนครั้งที่ 2 รอบนี้ไปร่วมงาน เวทีชุมชนได้รู้ประวัติของชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่าครั้งแรก แต่ปัญหาก็เกิดอีก เพราะพี่คนขับรถเกิดขับเลยถนนที่จะเข้าไปสถานที่จัดงาน พี่เค้าเลยถอยรถเพื่อที่จะเข้าไปในสถานที่ที่จัดงาน งานนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้นำของแต่ละหมู่บ้านกับเหล่าคณาจารย์และนักศึกษาเก็บข้อมูลได้มากขึ้น แลกเปลี่ยนความรู้และได้รู้ในเรื่องที่อยากรู้ แต่…

สภาพอากาศค่อนข้างร้อนทีเดียว
22 ตุลา เริ่มต้นถ่ายทำงานPR306 เมื่อผู้ใหญ่บ้านป่วยและพี่หม่อนติดธุระกะทันหัน งานนี้เกือบล่ม แต่ก็ได้เพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไปถ่ายงานเหมือนกันช่วยไว้ได้ จากการสัมภาษณ์ของผู้ใหญ่บ้านกลายเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่แทนซะงั้นอ่ะ แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อากาศร้อนมากอีกตามเคย ลืมกินข้าวกินปลากันทีเดียว เพราะมัวแต่ถ่ายงาน จนลืมเวลา สรุปว่าวันนั้น ได้ดื่มแต่น้ำ
28 ตุลา ลงชุมชนเก็บข้อมูลพร้อมกันทั้ง 3 กลุ่ม งานนี้เหงื่อโชกมาก เมื่อถึงหมู่บ้านแบ่งกลุ่มสัมภาษณ์งานและเก็บภาพทำBlog เดินถ่ายกันเรื่อยเริ่มเหนื่อย เลยนั่งพักที่ศาลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลมเย็นดี สักพักผู้ใหญ่ปั่นจักรยานผ่านมาพอดี เลยนั่งสัมภาษณ์งานกันต่อ นำโดยพิธีกรคนสวย คือ มิส ตินตินหรือ สาวเชอร์รี่นั่นเอง ถามไปถามมาเริ่มหิว หาอะไรกินกันดีกว่า มาจบด้วยการกินก๋วยเตี๋ยวเพียงร้านเดียวสุดซอย ราคาถูกและอร่อย”
( เบญจวรรณ กันทะธง)
 
 

“เมื่อมาเยือน ศาลาแดงเหนือ 3 ครั้ง ทุกๆครั้งก็จะมีป้าแดงและป้าพรให้ข้อมูล คอยนำทางพาเราเยี่ยมชมวัดและชุมชน ชุมชนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะที่เรากำลังเดินอยู่นั้น ได้เห็นภาพคุณยายคนนึ่งท่านชรามาก นั่งอยู่ริมน้ำหน้าบ้านของเค้า คุณยายท่านนั้นเค้าใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้างหน้า ทำใหเราได้เห็นได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่นั่นชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย มีรถขายกับข้าวทั้ง6ล้อ และ4ล้อ ส่วนตัวเราจะชอบ6ล้อมากกว่าค่ะ ดูแล้วมันเป็นเหมือนบ้านกับข้าวเคลื่อนที่ มีบันใดขึ้นเลยจ้า เดินซื้อบนรถด้วยตัวท่านเองค่า..เก๋ๆ คนแน่นมากค่ะ อยากกับเดินช็อปปิ้งบนห้างเลยทีเดียว เดินๆไป หมาก็เห่าค่ะ เห่าทุกครั้งที่ไปเลยสิน่าา.. ขับรถหลงทาง หมายังมองๆแล้วมันก็มอง(หมาแอบทำหน้างวยงง) นี่เทอจะไปทงไหน.. ช่วงตุลาคมนี้มีฝน ทำให้บ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำเริ่มมีน้ำเอ่อล้นเข้าหน้าบ้านแล้ว เราก็สู้ไม่ถอยค่ะถอดรองเท้าเดินไปลุยน้ำกันเลยทีเดียว(น้ำสูงระดับเข่า) และแล้วก้มาถึงบ้านป้าที่ทำกระยาสารทแล้วค่ะ คุณป้าท่านนี้ใจดีให้ขนมเรกินฟรีด้วยค่ะ นั่นก็คือ กระยาสารทนั่นเอง (ขอบคุณนะคะ) ครั้งที่ท้ายที่เราได้ไปคือ วันที่ลงพื้นที่พร้อมคณะอาจารย์และนศ.ทุกเซค มาถึงเห็นผู้ใหญ่ในชุมชนต้อนรับเราเป็นอย่างดี ทุกท่านเตรียมตัวมาพร้อมในการพูด การเล่าเรื่อง ให้ความรู้เรื่องของชุมชน เราเห็นท่านแต่คนตื่นเต้น ออกมาพูดมือไม้สั่น(มันเป็นควมน่ารักของผู้ใหญ่) สิ่งนี้ทำให้เรายิ้มได้ มีความสุขที่เห็นท่านอยากจะให้ความรู้แก่เรา และมีขนมไทยให้ิกินฟรีด้วยค่ะ มีขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง และยังมีหมี่กรอบที่แสนอร่อยให้เราซื้อกลับบ้านด้วยค่ะ เราซื้อกลับหลายห่อเลยทีเดียว” (Noon Sutthinee)

 

(ข้าวแช่)
Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือกับความเป็นชุมชนมอญ

              หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือ สาหรับสถานที่นี้เป็นหมู่บ้าน(ชุมชนมอญ)ที่เก่าแก่ เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนที่มีแนวคิดในการอนุรักษ์ธรรมชาติจนมีผู้มาศึกษาดูงานอยู่เป็นประจำ ขณะนี้ทางชุมชนกำลังจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์และมีองค์ความรู้เรื่องชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นที่วัดเก่าแก่ประจำชุมชนศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือ มีเอกลักษณ์ด้านการเป็นชุมชนเข้มแข็งในการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของชุมชนชาวมอญที่ดำเนินชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้จากกิจกรรมที่ชาวชุมชนร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติอย่างเต็มใจทุกครัวเรือน โดยไม่มีการบังคับ เช่น การสอนให้ชาวชุมชนจัดทำบ่อพักไขมันจากการประกอบอาหารก่อนปล่อยลงสู่แหล่งนำธรรมชาติ การออกแบบวิธีการ จัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบเพื่อให้ทุกครัวเรือนในชุมชนไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นต้น เป็นองค์ความรู้เรื่องวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว ด้านความงาม และความประทับใจในวิถีวัฒนธรรม เช่น การเผาศพแล้วไม่ลอยอังคารในแม่นำลำคลอง แต่ฝังกลบในดินแทน ทำให้ไม่สร้างมลพิษแก่น้ำ และยังได้ปุ๋ยบำรุงดินอีกด้วย เป็นต้น ขณะนี้ทางชุมชนกำลังมีความพยายามจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้วิถีชุมชนมอญขึ้นที่วัดเก่าแก่ประจำชุมชน เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวชุมชน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชนทุกคน ด้วยเหตุนี้หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือแห่งนี้จึงมีผู้คนมากมายต้องการแวะมาเยี่ยมชมท่องเที่ยวเป็นอันมาก แต่ชาวชุมชนขอต้อนรับเฉพาะผู้มาศึกษาดูงาน หรือ มาท างานวิจัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเท่านั้น ไม่ได้เปิดบ้านเพื่อการท่องเที่ยว เช่น โฮมสเตย์แต่อย่างใด การเดินทางไป-มาสะดวกทั้งรถขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ได้แก่ รถยนต์ส่วนตัว รถตู้ รถทัศนาจร เป็นต้น มี ที่จอดรถกว้างขวาง เพียงพอ และยังมีรถโดยสารประจำทางแล่นผ่านอีกด้วย ศักยภาพในการรองรับด้านท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และมีการพัฒนาให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน ให้ได้รับความสะดวกสบายในทุกๆด้าน มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นร่วมกันให้การสนับสนุนและ จัดการด้านนโยบาย งบประมาณ ตลอดจนบุคลากรสำหรับ การจัดตั้งให้หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ที่สมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนอื่นๆได้นำแนวทางไปใช้พัฒนาชุมชนของตนเอง อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้หมู่บ้านศาลาแดงเหนือดำเนินวิถีเช่นนี้ต่อไป ดังนั้นหมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านศาลาแดงเหนือ จึงไม่มีมีความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยวแบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่มีความพร้อมในการเป็นเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานทางวัฒนธรรม การบริหารจัดการ มีการดูแลรักษา และมีการจัดการด้านการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างเป็นระบบ ได้แก่ การกำหนดพื้นที่สงวน(ส่วนบุคคล) พื้นที่สาธารณะ ไม่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแต่อย่างใด

ข้อมูลจาก  :: http://61.19.236.136/tourist2009/pdffile/10500436.pdf

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านศาลาแดง

บทสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน 

นาย อนุวัตร ใจชอบ

กิจกรรมที่ทุกคนอยากมีส่วนร่วม

                     จัดงานวันแม่ มีการแข่งขันกีฬาภายในหมู่บ้านจากผู้สูงอายุบ้าง เยาวชนบ้าง เช่น เปตอง ช่วงกลางคืน     มีการสดุฎีถวายพระพร ช่วงกลางวัน เป็นการจัดงานของชาวบ้าน ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในหมู่บ้าน กีฬาพื้นบ้าน เปตอง แชร์บอล ฟุตบอล ฯลฯ จะมีการจัดงานกันที่วัด ใช้ลานวัดเป็นศูนย์รวม แต่บางครั้งกิจกรรมเหล่านี้ขาดงบประมาณมาสนับสนุน ของบประมาณจาก อบต. ยาก เพราะเดี๋ยวนี้ทาง สตง. ไม่ให้เข้ามาสนับสนุนตรงนี้มาก ให้เป็นภาพรวม อย่างกิจกรรมถวายพระพร ก็จะให้จัดเป็นจุดๆเดียว เป็นจุดใหญ่ ในชุมชนเคยจัดเอง เพราะไปของบไม่ได้ บางทีต้องของบจากภายนอกเข้ามา จากโรงงานบ้าง งบประมาณกองทุนต่างๆของหมู่บ้านบ้าง ตอนนี้กำลังจะหางบประมาณจากโรงไฟฟ้าเชียงรากน้อย เพื่อนำมาจัดงานวันพ่อ บางบ้านในหมู่บ้านก็จะสมัครใจให้เงินค่าอาหาร ไม่มีการเรี่ยไรเงิน บางบ้านก็จะทำอาหารมาให้ บางบ้านก็จะบริจาคเงิน บางครั้งผู้นำในหมู่บ้านอาจจะไม่อยู่ ต้องไปถวายพระพรที่พระบรมรูปที่จังหวัด                     
                       ช่วงสงกรานต์มีการรดน้ำดำหัวผู้อายุ สิ่งที่อยากได้เพิ่ม สิ่งของที่นำมาให้ผู้อายุ เช่น ของชำร่วย พวงมาลัย น้ำอบ ผ้านุ่ง งบประมาณของหมู่บ้านที่นำมาใช้ปีหนึ่งอยู่ที่หมื่นกว่าบาท กิจกรรมดีแล้ว แต่ขาดเงินสนับสนุน ขาดผู้สนับสนุน บางหน่วยงานก็จะส่งเงินเข้ามาร่วมกิจกรรมกับคนในหมู่บ้าน อย่างเช่นโรงไฟฟ้า ส่งคนให้นำอาหารเข้ามาให้ มีตัวแทนมาจัดให้ ส่วนมากจะให้งบประมาณมาจัดการกันเอง ชาวบ้านให้ความมือเป็นอย่างดี โดยให้เยาวชนมาช่วยกันจัดเตรียมสถานที่

 

วิธีการประชาสัมพันธ์

หมู่บ้านศาลาแดงเป็นหมู่บ้านเล็กๆจึงใช้การพูดคุยกัน ปากต่อปาก และมีเสียงตามสายประชาสัมพันธ์ไปยังชาวบ้านในหมู่บ้าน

ขนมกระยาสารทจะมีเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น ทำตามช่วงฤดูกาล ใช้น้ำอ้อยเป็นส่วนผสม ถ้าหลังจากออกพรรษาไปจะไม่มีน้ำอ้อย ไม่มีวัตถุดิบที่จะทำ

กิจกรรมต่างๆ

จะมีการแสดงดนตรี หาจากภายนอกเข้ามา การละเล่นและการแสดงต่างๆมาจากเด็กๆเยาวชนในหมู่บ้าน มีการรำถวายพระพรจากเด็กๆในหมู่บ้าน
เป็นงานเล็กๆ นอกจากจะมีพระมรณภาพถึงจะมีงานใหญ่ๆเน้นวัฒนธรรม   ชีวิตความเป็นอยู่ของคนมอญ เลือกห้องเรียนชีวิตมอญ

ปัญหาในหมู่บ้าน

มีบุคคลภายนอกเข้ามาตอนดึกๆ เพราะหมู่บ้านเป็นที่เปลี่ยว ห่างจากถนนใหญ่ มีคนเข้ามาใช้พื้นที่ในการส่งยาเสพติดบ้าง
กลางคืนมีวัยรุ่นมาขับมอเตอร์ไซค์เสียงดัง มีบุคคลภายในชักนำ เข้ามาในหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

คือ หมี่กรอบ, หางหงส์ (ทำช่วงสงกรานต์ หรือ มีคนสั่ง order, กระยาสารท, ข้าวแช่, กะปิ, ปลาร้า (ทำตามฤดูกาล), น้ำผลไม้ (ถ้ามี order มาก็จะทำให้)

แผนชุมชน

ทำปีละหนึ่งครั้ง ปรับให้เป็นปัจจุบัน ทำประชาคม เพื่อความต้องการของชาวบ้าน มีการจัดลำดับแผนว่าต้องการอะไรก่อนอะไรหลัง ใช้ควบคู่กับอำเภอและอบต. ถ้าไม่มีแผนทางจังหวัดก็จะไม่ให้งบประมาณ 

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

ความประทับใจแรก

Image

                  หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ ม2 ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุม เป็นชุมชนมอญ เป็นหมู่บ้านพอเพียง เป็นชุมชนเล็กๆที่ดูอบอุ่น
ครั้งแรกที่ก้าวเข้ามาที่นี่ ก็ได้ทราบข่าวมาบ้างแล้วเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเป็นมอญที่แทรกซึมอยู่ในหมู่บ้าน
ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม วัด หรือวัฒนธรรมบางอย่างที่เราต้องการสืบค้นว่ามีความเป็นมอญอย่างไรบ้าง นับว่าเป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจไม่น้อย

Image(แอปเปิ้ลมอญหรือลูกมะตาด ปลูกอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา)

แม้จะเป็นงานบุญทอดกระฐิน ทางเราได้เคยเข้าไปเพื่อขอถ่ายภาพและสอบถามข้อมูลต่างๆ พบว่าชาวบ้านที่นี่ให้ความร่วมมือดีมาก
ไม่แสดงท่าทีตกใจหรือรังเกียจ แถมยังเชิญชวญรับประทานอาหารร่วมกับพวกเขาในงานบุญอีกด้วย
สิ่งที่เรารู้สึกก็คือ ชาวบ้านชุมชนนี้ มีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจ และสนับสนุนกลุ่มนักศึกษาอย่างพวกเราเป็นอย่างดี 

คุณยายลงไปดักผักตบชวาที่จะเข้ามายังบริเวณหน้าบ้านของเค้า ใช้ไม้ไผ่ยาวในการทำ นำไม่มาต้อกันให้ได้ความยาว
แล้วนำไปมัดกับเสา เพื่อเป้นที่ยึดและคอยกันผักตบที่จะลอยมาหน้าบ้าน เพราะคนที่อยู่ริมน้ำนั้น จะใช้น้ำเจ้าพระยาในการ ล้างถ้วยชาม ซักผ้า

อาจเป็นเวลาแค่ไม่กี่เดือนจากที่นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ไปลงพื้นที่
แต่ก็นับว่าเป็นความประทับใจในหลายๆอย่างที่เราล้วนได้รับจากชุมชนหมู่บ้านศาลาแดงเหนือแห่งนี้
และเชื่อว่าความอบอุ่นและรอยยิ้มที่ชาวบ้านได้มอบให้กับเรา จะทำให้ทุกคนอยากกลับมาเที่ยงที่นี่อีกครั้ง 

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

เกี่ยวกับศาลาแดงเหนือ

ที่มาของชื่อหมู่บ้าน     ศาลาแดงเหนือ มีที่มาจากชื่อ แพรปราณ หมายถึงวัดแดง ปราณ แปลว่า ไม้แดง ใช้จากเดิมคือ ถิ่นฐานเดิมคือ ประเทศ พม่า (กว่านปราณ) เป็นการลำลึกถึงหมู่บ้านเก่า และสมัยก่อนที่หมู่บ้านเคยมีศาลาแดง

สภาพโดยทั่วไปของหมู่บ้าน    เป็นที่ลาบลุ่ม น้ำหลาก น้ำท่วมทุกปี หมู่บ้านติดกับเจ้าพระยา มีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่บ้างแต่คนที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นคนนอกพื้นที่ทั้งนั้น ผู้คนมีความเป็นอยู่ที้เรียบง่าย

อ่านเพิ่มเติม

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .